Saturday, June 1, 2013

ห้องเรียนพิเศษวิทย์

วันที่ 1 มิถุนายน 2556 มีโอกาสได้รับเชิญให้สอนนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ตามแนวทาง สสวท. โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี ระดับชั้น ม. 1 โดยสอนเรื่อง Simple Pendulum

เริ่มการสอนด้วยการเปินำภาพนาฬิกาลูกตุ้มและวีดิโอแสดงการทำงานของลุกตุ้ม แล้วจึงนำเข้าสู่การทดลองเพือศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการแกว่งของลูกตุ้ม โดยทดลองสองตอนคือ มวลและความยาวเส้นเชือก

จากการทดลองของนักเรียนทำให้ได้แง่คิดเกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนการสอนหลายอย่าง เช่น สังเกตได้ว่านักเรียนไม่รู้จักการเขียนเลขทศนิยม การอ่านค่าเวลาจากนาฬิกาจับเวลา การอ่านโจทย์จากใบความรู้ ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐาน แต่ปรากฏว่านักเรียนทำไม่ได้ แม้ว่าจะเป็นนักเรียนห้องเก่ง

ประเด็นสำคัญอันหนึ่งที่พบคือการมีความคิดเดิมที่คงทน (persistent preconception) เช่น การคาดเดาว่ามวลจะมีผลต่อคาบเวลาการแกว่งของลูกตุ้ม ซึ่งแม้จะทำการทดลองแล้วแต่ก็ยังไม่เชื่อในสิ่งที่ตนเองได้ทดลอง บางคนมีการปรับค่าข้อมูลที่ได้จากการทดลองมาเป็นค่าที่ตัวเองคิดหรือคาดเดา ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก

การจับเวลาของนักเรียนปัจจุบันทำได้ง่ายด้วยการใช้ smartphone มาเป็นเครื่องมือช่วยซึ่งวัดได้ละเอียดหลายตำแหน่งอีกด้วย นี่คือข้อดีของเทคโนโลยีนั้นเอง